บันทึกการเรียนครั้งที่ 13คาบเรียนนี้เป็นการนำเสนอ “ของเล่นวิทยาศาสตร์” รูปแบบเดี่ยวและรูปแบบกลุ่มกลุ่มของดิฉันได้เรื่อง “เสียง” กลุ่มของดิฉันได้ประดิษฐ์เครื่องดนตรีซึ่งจะเป็นเครื่องดนตรีที่ไล่ระดับเสียงต่างๆ เพื่อให้เด็กเรียนรู้ความแตกต่างระหว่างเสียงที่เกิดขึ้น
ของเล่นเดี่ยว ของดิฉัน คือ “ผลไม้หลากเสียง”เป็นเครื่องเคาะสัญญาณที่ระดับเสียงแตกต่างกัน เสียงนั้นจะเกิดจากวัตถุมากกระทบกันทำให้เกิดเสียง
แต่การที่เราใส่วัตถุลงไปในระดับที่ต่างกันจะทำให้เกิดเสียงต่างกันออกไปตามระดับ
ไปชมภาพการนำเสนองานของเพื่อนๆกันเลยค่ะ
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ได้ให้คำแนะนำการทำของเล่นสำหรับเด็กปฐมวัยว่าจะต้องมีการสื่อให้เด็กเกิดการเล่นรู้ผ่านการเล่นประเมินตนเอง ได้ตอบคำถามและรับฟังการให้คำแนะนำจากอาจารย์เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขประเมินเพื่อน เพื่อนทำของเล่นได้น่าสนใจและสนุกสนานเหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยและสามารถนำปรับปรับใช้ได้ดีในการจัดมุมประสบการณ์หรือการนำไปทำเป็นของเล่นส่วนตัว
Science Provision for Early Childhood
Portfolio subject to the science experiences management for Early Childhood
วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
บันทึกเรียนครั้งที่ 11-12
บันทึกการเรียนครั้งที่ 11-12
2 คาบนี้เป็นการทำกิจกรรม ที่ศูนย์เด็กปฐมวัยชุมชนเสือใหญ่
เป็นการนำการทดลองวิทยาศาสตร์ ไปให้ความรู้กับเด็ก ๆ ทุกชั้นเรียนในระดับปฐมวัย
โดยเริ่มจากการทำกิจกรรมกับเด็ก ๆ และแบ่งเด็ก ๆ
เป็นกลุ่มเพื่อแยกย้ายไปเรียนรู้การทดลองต่าง ๆ
ไปชมภาพกิจกรรม ตลอด 2 วันกันเลยค่ะ
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ได้ให้ลงปฏิบัติด้วยตนเองและคอยให้คำแนะนำในการทดลอง
และเวลาจัดระเบียบเด็ก ๆ
ประเมินตนเอง กล้าแสดงออกมากขึ้นในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
และการนำทำกิจกรรม ได้ใช้ประสบการณที่ตัวเองมีมาก่อนหน้านี้และรับฟังที่อาจารย์แนะนำเอาใปใช้
ประเมินเพื่อน เพื่อนบางคนไม่มีพร้อมในการทำกิจกรรมและยังไม่สามารถควบคุม
เด็ก ๆ ได้ เพื่อนบางคนมีความสามารถในการทำกิจกรรมร่วมกับเด็ก ๆ ได้
วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2562
บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
บันทึกการเรียนครั้งที่ 10
คาบเรียนเป็นการทบทวนกิจกรรมการทดลอง
เพื่อฟังคำแนะนำจากอาจารย์ก่อนที่จะนำการทดลองต่างๆไปทดลองให้เด็กๆที่ศูนย์เด็กและมีการทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมภาพเคลื่อนไหว
วิธีทำ 1.ตัดกระดาษA4แบ่งครึ่งตามแนวยาวแล้วตัด
2.นำกระดาษที่ตัดแล้วนำมาพับครึ่ง แต่ให้ครึ่งที่อยู่ด้านล่างห่างออกมา
1 นิ้ว
3.วาดภาพระบายที่มีความต่อเนื่องกันในตำแหน่งเดียว
แต่มีความเนื่องกันตามภาพ
4.ทดลองเปิดปิดด้วยความเร็วจะทำให้ภาพเกิดความต่อเนื่องกัน
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมภาพหมุน
วิธีทำ 1.นำกระดาษที่เหลือจากกิจกรรมแรกมาพับครึ่งและตัดออกจากกัน
2.วาดภาพที่มีความต่อเนื่องกันที่สามารถเชื่อมความสัมพันธ์กันได้
ดังภาพ
3.ใช้กระดาษนำมาม้วนให้แข็งเพื่อเป็นก้าน แล้วนำมาประกอบกัน ดังภาพ
4.ทำการหมุนเพื่อดูการเปลี่ยนแปลง คือ ภาพนั้นจะกลายเป็นภาพเดียวกัน
กิจกรรมที่ 3 ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
ชื่อของเล่น ภาพลวงตา
วิธีทำ 1.นำกระดาษมาวาดภาพระบายสีเหลือขอบไว้ด้านละ 1 ซม.
2.จากนั้นกรีดใดด้านนึงออก เพื่อทำเป็นช่องสอดแผ่นปกใสสีต่างๆ
ดังภาพ
3.ลองสอดปกใสสีต่างๆและลองสังเกตการเปลี่ยนแปลง สีบางสีจะหายไปเนื่องจากการดูดกลืนแสงจากธรรมชาติ
ที่ปกติแล้วเราจะเห็นเป็นเพียงเสียงสีขาว แต่ที่จริงแล้วจะมีทั้งหมด 7 สี
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ได้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการให้ความรู้กับเด็กๆว่าควรใช้คำพูดอย่างไร และควรสร้างข้อตกลงในการเรียนรู้ร่วมกัน
ประเมินตนเอง รับฟังการให้คำปรึกษาและนำไปประใช้ในการนำเสนอในครั้งถัดไป
ประเมินเพื่อน เพื่อนให้ความสนใจในการทำกิจกรรมต่างๆและช่วยกันตอบคำถาม
วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2562
บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
บันทึกการเรียนครั้งที่ 9
การเข้าเรียนครั้งนี้เป็นการศึกษาดูงานจากนิทรรศการ
ที่พี่ๆชั้นปีที่ 5 ได้มาจัดให้ชม
แนวการสอนแบบไฮสโคป (High Scope)
ไฮสโคป (High Scope) ใช้หลักปฏิบัติ 3 ประการ
คือ
1. การวางแผน
(Plan) เป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติ
หรือการดำเนินงานตามงานที่ได้รับมอบหมายหรือสิ่งที่สนใจด้วยการสนทนาร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก
และเด็กกับเด็ก ว่าจะทำอะไร อย่างไร การวางแผนกิจกรรมนี้เด็กอาจแสดงด้วยภาพหรือสัญลักษณ์ประจำตัวเด็กหรือบอกให้ครูบันทึก
เป็นกระบวนการที่เด็กมีโอกาสเลือกและตัดสินใจ
2. การปฏิบัติ
(Do) คือ
การลงมือทำกิจกรรมตามแผนที่วางไว้ เป็นส่วนที่เด็กได้ร่วมกันคิด แก้ปัญหา ตัดสินใจ
และทำงานด้วยตนเอง หรือร่วมกับเพื่อนอย่างอิสระตามเวลาที่กำหนดโดยมีครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ
ช่วยเหลือในจังหวะที่เหมาะสม
เป็นส่วนที่เด็กได้มีการพัฒนาการพูดและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสูง
3. การทบทวน
(Review) เด็ก
ๆ
จะเล่าถึงผลงานที่ตนเองได้ลงมือทำเพื่อทบทวนว่าตนเองนั้นได้ปฏิบัติงานตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร การทบทวนจุดประสงค์ที่แท้จริงคือ
ต้องการให้เด็กได้เชื่อมโยงแผนการปฏิบัติงานกับผลงานที่ทำ
รวมถึงการเล่าประสบการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ลงมือทำด้วยตนเอง
วิธีการสอนแบบ Project Approach
การสอน 3 ระยะของ Project Approach
การเรียนรู้แบบ Project Approach แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 : การเริ่มต้นโครงการ
คุณครูร่วมกันอภิปรายหัวข้อกับเด็ก ๆ
เพื่อค้นหาประสบการณ์ที่เด็กมี สิ่งที่เด็กรู้แล้ว และสิ่งที่เด็กอยากรู้ เด็ก ๆ
จะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ และแสดงความเข้าใจแนวคิดที่เกี่ยวข้อง จากการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
คุณครูจะใช้คำถามถาม เพื่อกระตุ้นให้เด็กตอบคำถาม
และทำจดหมายเกี่ยวกับหัวเรื่องการเรียนรู้ของโครงการส่งกับบ้านถึงผู้ปกครอง
เพื่อสนับสนุนให้ผู้ปกครองได้พูดคุยกับลูกเกี่ยวกับหัวข้อนั้น ๆ
และแบ่งปันความรู้ให้กับเด็ก ๆ เพื่อเด็กจะได้นำความรู้ใหม่ ๆ
ที่ได้รับมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกับเพื่อน ๆ ในห้องต่อไป
ระยะที่ 2 : การพัฒนาโครงการ
ขั้นตอนนี้จะเป็นการจัดโอกาสให้เด็ก ๆ
ได้ทำงานภาคสนามและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่เด็กสนใจเรียนรู้
โดยคุณครูจะเป็นผู้จัดหาทรัพยาการต่าง ๆ เช่น หนังสือ เอกสารงานวิจัย
พร้อมทั้งแนะนำวิธีการตรวจสอบที่หลากหลายให้กับเด็ก
เพื่อช่วยเด็กในการสืบค้นและรวบรวมข้อมูลด้วยวัตถุจริง
เปิดโอกาสให้เด็กแต่ละคนมีส่วนร่วมในการเป็นตัวแทนของสิ่งที่เค้ากำลังสืบค้น
และช่วยให้เด็กสามารถทำงานตามความสามารถของตัวเองได้ เช่น บางคนมีทักษะพื้นฐานด้านงานประดิษฐ์
การวาดภาพ การนำเสนอ และการเล่นละคร
โดยคุณครูช่วยสนับสนุนให้เด็กได้ทำงานตามความถนัดของแต่ละคนผ่านการอภิปรายในห้องเรียน
ซึ่งหัวข้อของ Mind
Map ที่ออกแบบไว้ก่อนหน้า
จะให้ข้อมูลย่อเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการด้วยค่ะ
ระยะที่ 3 : การสรุปโครงการ
เด็กและคุณครูร่วมกันจัดนิทรรศการ
โดยให้เด็กแบ่งปันสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ Project Approach ให้เด็ก ๆ
ช่วยกันอภิปรายถึงหลักฐานที่สืบค้น เปรียบเทียบการตั้งสมมุติฐานว่าตรงกันหรือไม่
เล่าเรื่องโครงการของพวกเขาให้ผู้อื่นฟัง โดยเน้นจุดเด่นของโครงการ
คุณครูและผู้ปกครองช่วยเด็ก ๆ วางแผนการดำเนินการ
พร้อมเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เด็ก ๆ ทำและค้นพบ อย่างเต็มความสามารถ
ความสนุกสนาน ความกระตือรือร้นและความภูมิใจในตัวเด็กผ่านผลงานต่าง ๆ
ทั้งนี้ครูควรบันทึกความคิดและความสนใจของเด็กในระหว่างการทำโครงการ
เพื่อเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงทางความสนใจ ความรู้ และความคิดของเด็ก ๆ
ว่าก่อนเริ่มโครงการและหลังจากสรุปโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
และเพื่อเป็นแนวทางในการหาหัวข้อของโครงการในครั้งต่อไป
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ได้ให้ศึกษาด้วยตนเองและได้ให้ศึกษาจากประสบการณ์ตรงจากรุ่นพี่
ประเมินตนเอง ได้ศึกษาดูงานจากแผนการจัดประสบการณ์ของจริง และสามารถนำมาปรับใช้ได้จริงประเมินเพื่อน เพื่อนให้ความสนใจในการศึกษาและช่วยกันแสดงความคิดเห็น
วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2562
บันทึกการเรียนครั้งที่ 8
บันทึกการเรียนครั้งที่
8
สัปดาห์นี้เป็นการนำเสนอการทดลองรายกลุ่ม
โดยเลือกจาก ใบความรู้บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย การทดลองแต่ละการทดลองจะสอดคล้องกับ
13 ทักษะ
การทดลองที่ 1
การทดลองลูกโป่งพองโต
วัสดุและอุปกรณ์
1.ขวดแก้ว
2.กรดมะนาว
3.เบคกิ้งโซดา
4.ลูกดป่ง
5.น้ำเปล่า
6.ช้อนโต๊ะ
7.แก้วเปล่า
8.น้ำเปล่า
วิธีการทดลอง
1.เทน้ำเปล่าปริมาณเท่าๆกันลงในขวด
ทั้ง3ขวด
2.เทเบคกิ้งโซดาลงในขวดที่มีน้ำเปล่า
ขวดละ 1 ช้อน จากนั้นใส่กรดมะนาวใส่ลงในขวด ขวดที่ 1 ใส่1 ช้อน ขวดที่ 2 ใส่ 2
ช้อน ขวดที่ 3 ใส่ 3 ช้อน หลังใส่กรดมะนาวครบแล้ว ให้สวมลุกโป่งแล้วสังเกตลูกโป่ง
ผลการทดลอง
การทดลองนี้
จะได้เรียนรู้สารเคมี 2 ชนิด คือ 1.เบคกิ้งโซดา 2.กรดมะนาว
ซึ่งสารเคมีสองชนิดนี้จะทำปฏิกิริยากัน ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วทำให้ลูกโป่งพองโต
ลูกโป่งแต่ละลูกจะมีความพองไม่เท่ากันเนื่องจากใส่กรดมะนาวลงไปในแต่ละขวดไม่เท่ากันนั่นเอง
การทดลองที่ 2
การทดลองภูเขาไปลาวา
วัสดุอุปกรณ์
1.ภูเขาไปลาวา (ประดิษฐ์จากขวดน้ำและดินน้ำมัน)
2.ถาดพลาสติก
3.สีผสมอาหาร
4.น้ำส้มสายชู
5.เบคกิ้งโซดา
วิธีการทดลอง
1.ใส่สีผสมอาหารที่เตรียมไว้ลงไปในภูเขาไฟลาวา
2.เทน้ำส้มสายชูลงไปในภูเขาไฟลาวา
3.เทเบคกิ้งโซดาลงไปในภูเขาลาวา
1 ช้อน แล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง
ผลการทดลอง
จากการทดลองนี้ เด็กๆ
จะได้รู้จักสารเคมี คือ น้ำส้มสายชู เบคกิ้งโซดา สีผสมอาหาร สารเคมีทั้ง 3 ชนิด จะทำปฏิกิริยาทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
จึงทำให้มีสารเคมีพุ่งออกมาด้านนอกขวด เหมือนลาวาของภูเขาไฟ
การทดลองที่ 3 การจมลอยของน้ำมัน
วัสดุอุปกรณ์
1.น้ำมัน
2.น้ำเปล่า
3.ขวดโหล
4.กรวดก้อนหิน
5.ช้อน
วิธีการทดลอง
1.เทน้ำลงไปในขวดโหลในปริมาณที่พอดี
2.เทน้ำมันลงไปในขวดโหล
3.ใส่กรวดก้อนหินลงไปในขวดโหลที่มีน้ำและน้ำมัน
ผลการทดลอง
กรทดลองนี้จะทำให้เห็นว่า
ความหนานแน่นของแต่ละอย่างจะมีความแตกต่างกันออกไป ของที่มีความหนาแน่นน้อยกว่า
คือ น้ำมันจะลอยขึ้นเหนือน้ำ ของที่มีหนาแน่นมากกว่าน้ำจะจมลง
การทดลองที่ 4 การแยกเกลือกับพริกไทย
วัสดุอุปกรณ์
1.เกลือ
2.พริกไทย
3.ช้อน
4.จานกระดาษ
5.ผ้าขนสัตว์
วิธีการทดลอง
1.ผสมเกลือและพริกไทยลงในจานกระดาษที่เตรียมไว้
2.นำช้อนไปถูกับผ้าขนสัตว์ให้มีอุณหภูมิที่สูงขึ้น
3.นำช้อนที่ถูกับผ้าขนสัตว์ไปวางเหนือบริเวณของเกลือและพริกไทย
ผลการทดลอง
การทดลองจะเห็นได้ว่า พริกไทยจะลอยติดขึ้นมาบริเวณช้อน นั้นเกิดจาก
ไฟฟ้าสถิต จากการที่นำช้อนไปถูกับผ้าขนสัตว์
ไฟฟ้าสถิตจึงสามารถแยกเกลือและพริกไทยออกจากกันได้
การทดลองที่ 5 การแยกแสงสีแดงและแสงสีเขียว
วัสดุอุปกรณ์
1.ปกพลาสติก สีแดงและสีเขียว
2.กระดาษ A4
3.สีไม้หรือปากเกเมจิก สีแดงและสีเขียว
วิธีการทดลอง
1.วาดรูปใส่กระดาษโดยใช้สีแดงและสีเขียว
2.นำปกพลาสติกทั้งสองสีมาทับลงบนกระดาษที่เราวาดรูป
ผลการทดลอง
จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของทั้งสองรูปภาพ ถ้าเราใช้สีเดียวกันในการปิดกั้นจะทำแสงไม่มีการสะท้อนเข้ามาที่ดวงตาของเรา
แต่ถ้าเราใช้สีที่แตกต่างออกไปจะทำให้แสงกระทบกับดวงตา ทำให้เรามองเห็นสี
การทดลองที่ 6 การทดลองลูกข่างหลากสี (สื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์)
วัสดุอุปกรณ์
1.แผ่นซีดี
2.กระดาษ A4 ตัดขนาดเท่าแผ่นซีดี
3.สีไม้
4.ดินน้ำมัน
5.กาวร้อน
6.กาวลาเท๊กซ์
7.ลูกแก้ว
วิธีการทดลอง
1.ระบายสีลงบนกระดาษที่เตรียมไว้ แล้วนำไปแปะลงบนแผ่นซีดี
2.นำลุกแก้วมาติดลงบนแผ่นซีดีเพื่อนเป็นฐานการหมนุ
3.นำดินน้ำมันมาแปะรอบๆรอยกาวร้อน
ผลการทดลอง
การหมุนของแผ่นซีดีจะทำให้สีที่ระบายลงไปบนกระดาษนั้นเปลี่ยนไป
มีการผสมสีกันเกิดขึ้น ทำให้เราเห็น เป็นสีเดียวกัน หรือแบ่งออกเป็นสีต่างๆ
อย่างชัดเจน วัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วจึงทำให้เราเห็นเป็นสีเดียวกัน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ได้ให้คำแนะนำในการทดลองทุกการทดลองเพื่อนำไปปรับพัฒนาก่อนการทำไปปฏิบัติจริง
ประเมินตนเอง ได้ลงมือปฏิบัติทำความเข้าใจชิ้นงานและรับฟังข้อเสนอแนะของอาจารย์นำไปปรับปรุงแก้ไขชิ้นงาน
ประเมินเพื่อน เพื่อนได้แสดวความเห็นและปรับปรุงแก้ไขชิ้นงาน ให้ความสนใจเพื่อนทุกกลุ่มที่ออกมานำเสนอ
วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2562
บันทึกการเรียนครั้งที่ 7
บันทึกการเรียนครั้งที่
7
สัปดาห์นี้
ได้ทบทวนเรื่อง “กระบวนการทางวิทยาศาสตร์”
มีการทำกิจกรรม
2 แบบกลุ่ม โดยยึดตามกลุ่มเดิม
กิจกรรมที่
1 เรื่อง วาดรูปแหล่งน้ำ
อาจารย์แจกแระดาษให้กลุ่มละ
1 ให้ออกแบบวาดภาพระบายสีแหล่งน้ำ โดยไม่มีการเขียนชื่อหรือระบุข้อมูลไว้
เพื่อให้เพื่อทายปริศนาจากรูปภาพ
ทักษะจากการทำกิจกรรม
-การสังเกตสิ่งที่อยู่ในภาพ
-การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสังเกต
-การเชื่อมโยงความคิด
จากประสบการณ์เดิมของตนเอง
-การตีความ การนำข้อมูลมาเชื่อมโยงเพื่อตอบรูปภาพ
สาระการเรียนรู้จากการทำกิจกรรม
-วิทยาศาสตร์
-ภูมิศาสตร์
-การคิด
วิเคราะเพื่อนำสิ่งต่างมาวาดเป็นภาพ
-ทักษะทางภาษา
การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน
-คณิตศาสตร์
เรขาคณิต รูปร่าง รูปทรง การคำนวณ
การทำงาน
-การทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อน
-การแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
-การแก้ไขปัญหาในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
ไปชมภาพขณะทำกิจกรรมกันเถอะ
กิจกรรมที่
2 เรื่องสร้างแหล่งน้ำ
กิจกรรมนี้อาจารย์ได้แจกกระดาษหนังสือพิมพ์
พาน เทปกาว โดยให้แต่ละกลุ่มสร้างแหล่งน้ำจากกระดาษหนังสือพิมพ์ กำหนดเกณฑ์ คือ
ให้สูงกว่า 24 เซนติเมตร และนำพานมาวางเพื่อทดสอบความแข็งแรง
ไปชมภาพขณะทำกิจกรรมกันเถอะ
คำศัพท์
Newspaper – หนังสือพิมพ์
Analysis – การวิเคราะห์
Geography
- ภูมิศาสตร์
Math – คณิตศาสตร์
Geometry - เรขาคณิต
การประเมิน
ประเมินอาจารย์ อาจารย์ได้ให้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้จริง
ประเมินตนเอง ได้ลงมือปฏิบัติทำความเข้าใจชิ้นงานพร้อมออกความเห็นประเมินเพื่อน เพื่อนได้แสดวความเห็นและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
บันทึกการเรียนครั้งที่ 13 คาบเรียนนี้เป็นการนำเสนอ “ ของเล่นวิทยาศาสตร์ ” รูปแบบเดี่ยวและรูปแบบกลุ่ม กลุ่มของดิฉันได้เรื่อง “ เสียง ” กลุ...
-
สรุปวิจัย การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริม ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย DEVELOPMENT OF A SC...
-
บันทึกการเรียนครั้งที่ 2 คาบเรียนที่ 2 อาจารย์ได้นำโปรแกรม PADLET เข้ามาใช้ในการเรียนการสอนวันนี้ในการทำงานในคาบ อาจารย์ให้จับกลุ่ม กลุ...
-
บันทึกการเรียนครั้งที่ 10 คาบเรียนเป็นการทบทวนกิจกรรมการทดลอง เพื่อฟังคำแนะนำจากอาจารย์ก่อนที่จะนำการทดลองต่างๆไปทดลองให้เด็กๆที่ศูนย์เด็...